วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2559

สร้างสมาธิ ด้วยคณิตศาสตร์

สร้างสมาธิด้วยคณิตศาสตร์

หลายๆคนอาจจะงงว่า คณิตศาสตร์ สามารถนำาสร้างสมาธิได้อย่างไร ตอบเลยว่าได้ หลายวิธีด้วยนะคะ เช่น วิธีที่จะนำเสนอต่อไปนี้ ก็คือ การพับกระดาษ หรือที่รู้จักโดยทั่วไปว่า Origami  นั่นเองนะคะ 
      ซึ่งศิลปะการพับกระดาษเป็นการฝึกสมองให้คิด ถ้าได้ออกแบบการสร้างสรรค์การพับกระดาษเป็นรูปทรงต่างๆ เป็นการช่วยให้คุณมีความคิดสร้างสรรค์ ได้รวบรวมงานคณิตศิลป์
     Origami ศิลปะพับกระดาษของญี่ปุ่น รูปทรงต่างเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น ปริซึม ทรงสี่เหลี่ยม  ทรงสามเหลี่ยม  ทรงหลายเหลี่ยม ฯลฯ



     กระดาษต่างๆ ที่ใช้ในการพับ
- กระดาษปอนด์  กระดาษชนิดนี้เป็นกระดาษที่หาได้ตามร้านเครื่องเขียนทั่วๆไป จะขายเป็นรีม อาจจะเรียกว่ากระดาษถ่ายเอกสาร จะมีหลายขนาด แต่ที่พบบ่อยๆก็คือ กระดาษ A4 ซึ่งเป็นกระดาษที่ใช้กันทั่วไป



 - กระดาษคราฟท์สำหรับกระดาษคราฟท์ จะเป็นกระดาษเนื้อหยาบ มักจะเป็นสีน้ำตาล แต่ก็มีแบบที่เป็นสีขาว เรียกว่ากระดาษคราฟท์ฟอกขาว สามารถหาซื้อได้ตามร้านเครื่องเขียนใหญ่ๆ โดยมักจะขายเป็นม้วน กระดาษคราฟท์โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้เป็นกระดาษเพื่อฝึกการพับได้ดี


 - กระดาษปรู๊ฟกระดาษชนิดที่สามเรียกว่ากระดาษปรู๊ฟ จะขายเป็นม้วนๆเหมือนกัน มีราคาถูก คุณสมบัติของกระดาษคือจะเป็นกระดาษที่ค่อนข้างบาง และเนื้อเหนียว เป็นเนื้อกระดาษแบบเดียวกับที่ใช้พิมพ์
หนังสือพิมพ์ สามารถใช้พับได้ดี


 -   หรือจะเป็นกระดาษสีกระดาษห่อของขวัญ หรือกระดาษที่มีลวดลายสวยงาน ที่สามารถนำมาพับกระดาษสร้างงาน คณิตศิลป์ได้
-งานพับกระดาษ Origami หลายๆ รูปแบบที่เราสามารถค้นคว้าได้เองตามอินเตอร์เน็ต




วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ หรือโปรแกรมที่ใช้ในการพัฒนา
1. ที่รองตัดกระดาษ
 2. คัตเตอร์
 3. กรรไกร
 4. ไม้บรรทัดยาว
 5. กาวลาเทกซ์
 6.กระดาษสี หรือ กระดาษ A4 ที่ใช้แล้ว หรือกระดาษอื่นๆ ที่ต้องการ

                                                     ภาพที่ 1   แสดงวัสดุอุปกรณ์



ภาพที่  2    (Origami รูปแบบต่างๆ )




การดำเนินงาน


- เตรียมนำวัสดุอุปกรณ์ให้พร้อมในการจะออกแบบการพับกระดาษตามรูปทรงที่ต้องการ
-ศึกษาข้อมูลวิธีการพับที่ถูกต้องและสามารถทำได้เอง
-เริ่มลงมือปฏิบัติตามขั้นตอนที่ศึกษามา
-วิเคราะห์ผลงานของตัวเองว่าเชื่อมโยงกับคณิตศาสตร์อย่างไร
ตัวอย่างเช่นการพับ Origami

1. กล่องทรงลูกบาศก์ อย่างง่าย










 ภาพที่ แสดงตัวอย่างการพับทรงลูกบาศก์อย่างง่าย
 -เราสามารถพับกระดาษประกอบเป็นรูปทรงที่ยากขึ้นได้ โดยการเรียนรู้ไปจากวดีโอ จากยูทป
 และที่กล่าวมานี้ เป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้นเราสามารถค้นหาข้อมูลแล้วนำมาประดิษฐ์ ด้วยตัวเราเองได้ ไม่ยากยังเป็นการฝึกสมาธิและมีความคิดที่สร้างสรรค์อีกด้วย
       
                                                               การนำไปใช้

         นำไปใช้ในกระบวนการเรียนรู้ทางด้านคณิตศิลป์  เป็นการฝึกสมาธิและมีความคิดที่สร้างสรรค์ สามารถนำไปใช้ในด้านสื่อการเรียนการสอนทางคณิตศาสตร์ และศิลปะได้และยังสามารถเป็นโมเดลในการออกแบบผลงาน นำไปประดับตกแต่งและต่อยอดเป็นผลงานหรือชิ้นงานอื่นๆ ได้

                                                 สรุปอภิปรายและข้อเสนอแนะ


     สรุปผลการดำเนินงาน

             การทำโครงงานคณิตศิลป์ กับ origami มีจุดมุ่งหมายเพื่อใช้กิจกรรมเกี่ยวกับศิลปะที่เกิดจากเส้นตรง  มุม  ฯลฯ  มาให้นักเรียนได้ปฏิบัติในรูปแบบต่าง ๆและรูปแบบหนึ่งที่น่าสนใจ เป็นกิจกรรมที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ความรู้ทางคณิตศาสตร์มาประกอบโดยอาศัยความ  โดยใช้เทคนิคการตัดกระดาษ  การพับกระดาษแล้วสอด (Origami)  เพื่อให้ได้ทรงเรขาคณิตในแบบต่างๆ  ซึ่งชิ้นงานเหล่านี้มีรูปแบบและสีสันที่สวยงามแปลกตา  สามารถนำไปใช้เป็นอุปกรณ์การสอนสาระเรขาคณิต  จึงได้เป็นที่น่าสนใจที่จะนำเรื่องนี้มาทำเป็นโครงงานเรื่อง คณิตศิลป์กับ Origami เพื่อให้เกิดความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์จากกิจกรรมการพับกระดาษ เป็นการสร้างจินตนาการที่กว้างไกล และเกิดการเรียนรู้ที่สนุกสนาน จากการนำความรู้ทางคณิตศาสตร์มาประกอบและนักเรียนได้ประดิษฐ์งานของนักเรียนเอง  ออกแบบชิ้นงานเอง  อันจะนำมาซึ่งความคิดสร้างสรรค์ที่หลากหลายและความสนุกสนานในการเรียน สรุปได้ว่า การทำ origami สามารถทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และนำไปใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนทางคณิตศาสตร์ได้
       สามารถสรุปได้ ดังนี้  การดำเนินงานเป็นไปอย่างราบรื่นมีผู้ให้ความสนใจในเรื่อง Origami มากขึ้น เบื้องต้นหลายคนที่นำเสนอโครงงานให้ฟังเขาสามารถเข้าใจ และลองประดิษฐ์ชิ้นงานได้เอง ผลงานที่ได้ส่วนใหญ่จะเป็นแบบลูกบาศก์ซึ่งมีหลักการทำที่เข้าใจได้ง่าย
  ปัญหาและอุปสรรค
- เวลาในการดำเนินกิจกรรม
- ชิ้นงานบางชิ้นมีการทำที่ซับซ้อน ทำให้เกิดการเข้าใจได้ยากต่อผู้เรียนรู้
-การสื่อสาร และสถานที่ในการดำเนินกิจกรรม


   ข้อเสนอแนะและแนวทางในการพัฒนา

- การจัดทำโครงงานควรมีสมาชิกมากกว่า 1 คน เนื่องจากจะได้แลกเปลี่ยนความรู้และมีผู้ช่วยค้นหาข้อมูล
-การร่วมมือของผู้รู้ทางด้านที่เราศึกษาควรมีเวลาพบพูดคุยและปรึกษาหารือให้มากขึ้น
-เนื้อหายังไม่เพียงพอต่อการจัดทำโครงงาน เนื่องจากโครงงานควรเป็นการเปรียบเทียบทดลองเพื่อสร้างความน่าสนใจและระดับความยากขึ้น